มาทำความรู้จักกับแมลงวัน

แมลงวันที่พบมาก​ใน​ประ​เทศไทย​ ​แบ่งออกเป็น​ 3 ​สายพันธ์ ดังนี้

1. ​แมลงวันบ้าน
​เป็น​พาหะนำ​เชื้อที่ก่อ​ให้​เกิดโรคหลายชนิด​ ​ได้​แก่​ ​เชื้อแบคที​เรีย​ ​ลำ​ตัวของแมลงวันชนิดนี้​ไม่​มีสีสะท้อนแสง​ ​มีสีน้ำ​ตาลอ่อน​ถึง​เข้ม​ ​พบ​ได้​ใน​ทุกจังหวัดของประ​เทศไทย​ ​พบมาก​ใน​ช่วงฤดูร้อน​ ​ใน​คอกสัตว์ที่มีอาหารตกหล่น​ ​หรือ​บริ​เวณกองอุจาระสัตว์​ใกล้​คอก​จะ​พบแมลงวันจำ​นวนมาก​ ​วงจรชีวิตมี​ 4 ​ระยะคือ​
- ​ระยะ​ไข่​ ​แมลงวันบ้าน​จะ​วางไข่บน​มูลสัตว์​ ​สิ่งปฎิกูลที่มี​ความ​ชื้นสูง​ ​ไข่มีรูปร่างค่อนข้างเรียวยาวคล้ายกล้วยหอม​ ​มีขนาด​เล็ก​ยาวประมาณ​ 1.0 - 1.2 ​มิลลิ​เมตร​ ​สีขาวขุ่น​หรือ​สีครีม​ ​ระยะ​ไข่​ต้อง​การ​ความ​ชื้นประมาณ​ 90% ​ระยะ​เวลาการเจริญ​จาก​ไข่​เป็น​ตัวหนอนขึ้น​อยู่​กับ​อาหาร​และ​อุณหภูมิ​ ​ไข่​จะ​ฟักภาย​ใน​ 6 - 12 ​ชั่วโมง​
- ​ระยะตัวหนอน​ ​ระยะนี้มี​ 3 ​ระยะ​ ​ลำ​ตัวประกอบ​ด้วย​ปล้อง​ 12 ​ปล้อง​ ​มีการลอกคราบ​ 2 ​ครั้ง​ ​โดย​ระยะที่​ 1 ​มีขนาด​ความ​ยาวประมาณ​ 3 - 5 ​มิลลิ​เมตร​ ​และ​ระยะที่​ 3 ​ยาวประมาณ​ 5 - 13 ​มิลลิ​เมตร​ ​ตัวหนอนมีลักษณะทรงกลมยาวคล้ายเม็ดข้าวสาร​ ​หัวค่อนข้างแบน​ ​ส่วน​ท้าย​จะ​กลม​ ​ไม่​มีระยางค์​ ​ตัวหนอนระยะที่​ 1- 3 ​จะ​มีลำ​ตัวค่อนข้างใส​ ​ก่อนที่​จะ​เข้า​ ​ระยะดักแด้​ ​จะ​มีสีขาว​หรือ​สี​เหลือง​เล็ก​น้อย​
- ​ระยะดักแด้​ ​​จะ​มีขนาด​ 6 - 8 ​มิลลิ​เมตร​ ลักษณะ​คล้ายถังเบียร์​ ​ใช้เวลาในระยะดักแด้ประมาณ​ 14 - 28 ​วัน​
- ​ระยะตัวเต็มวัย​

แหล่งเพาะพันธ์​: ​ได้​แก่​ ​มูลสัตว์​ ​เศษอาหาร​และ​สิ่งปฎิกูล​จาก​กรรมวิธีผลิตอาหาร​ ​อินทรียวัตถุ​ ​ได้​แก่​ ​ปลาป่น​ ​กระดูกป่น​ ​ท่อระบายน้ำ​โสโครก​จาก​บ่อบำ​บัดน้ำ​เสีย​

แหล่งเกาะพัก:​ ​แหล่งเกาะพัก​ใน​เวลากลางวัน​ ​ถ้า​แหล่งอาหาร​ไม่​สมบูรณ์​ ​แมลงวันบ้าน​จะ​เกาะพักบนพื้น​ ​ผนัง​ ​เพดานห้อง​ ​ส่วน​นอกบ้าน​จะ​เป็น​รั้วบันได​ ​ขยะ​ ​กอหญ้า​ ​และ​วัชพืช​ ​แต่​โดย​ทั่ว​ไปมัก​จะ​เกาะพัก​อยู่​ใกล้​กับ​แหล่งอาหาร​ ​เช่น​ ​บริ​เวณแหล่งกำ​จัดขยะมูลฝอยที่​ไม่​ถูกสุขลักษณะ​ ​ส่วน​การเกาะพัก​ใน​เวลากลางคืน​ ​ได้​แก่​ ​เพดาน​ ​ถ้า​อุณหภูมิสูง​จะ​เกาะบริ​เวณรั้ว​ ​ราวตากผ้า​ ​สายไฟฟ้า​ ​เชือก​ ​วัชพืช​ ​กอหญ้า​ ​ซึ่ง​เป็น​แหล่งเดียว​กับ​เวลากลางวัน​

2. ​แมลงวันหัวเขียว​
​เป็น​แมลงวันที่มีขนาด​ใหญ่​กว่า​แมลงวันบ้าน​ ​ลำ​ตัว​ใหญ่​ประมาณ​ 8 - 12 ​มิลลิ​เมตร​ ​ลำ​ตัวมันวาวสีน้ำ​เงินเขียว​
​​ไข่​แมลงวันหัวเขียว​จะ​ฟัก​เป็น​ตัวหนอนภาย​ใน​ระยะ​เวลา​ 9 - 10 ​ชม​ ​ที่อุณหภูมิ​ 24 - 28 ​องศา​ ​และ​สามารถ​วางไข่​ได้​ประมาณ​ 254 ​ฟอง​ ​ตัวหนอน​จะ​เจริญ​ได้​ดี​ ​ใน​อาหารเหลว​ ​อาหารที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด​ใน​การเพาะ​เลี้ยงตัวหนอนของแมลงวันชนิดนี้​ ​คือ​ ​อุจจาระ​เหลว​ ​ตัวหนอน​จะ​อยู่​รวม​กัน​เป็น​กลุ่มบริ​เวณ​ส่วน​บนของอาหาร​ ​เนื่อง​จาก​ต้อง​การ​ ​อากาศสำ​หรับหายใจ​ ​ตัวหนอนของแมลงวันชนิดนี้พบมาก​ใน​มูลของสัตว์ที่กินเนื้อ​ ​ส่วน​มูลของสัตว์ที่กินพืช​จะ​พบน้อยกว่า​ ​เช่น​ ​ม้า​ ​โค​ ​กระบือ​ ​เมื่อตัวหนอนเจริญเติบโตเต็มที่​แล้ว​ ​มัน​จะ​หาบริ​เวณที่​แห้งเพื่อ​เข้า​สู่ระยะดักแด้​ ​และ​จะ​เข้า​สู่ระยะ​เต็มวัย​

​พฤติกรรมการกินอาหาร​: ​จะ​พบแพร่กระจาย​ทั่ว​ไปตามแหล่งอาหาร​และ​แหล่งเพาะพันธุ์ที่มี​ความ​ชื้นสูงกว่า​แมลงวันบ้าน​ ​ความ​ยาวของอายุขึ้น​อยู่​กับ​อุณหภูมิ​และ​ความ​ชื้น​ ​ตัวเต็มวัยที่ออก​จาก​ดักแด้​ 8 - 9 ​วัน​ ​จะ​เริ่มวางไข่​ใน​ช่วงเวลาบ่ายมากกว่าช่วงเวลา​อื่น​

3. ​แมลงวันหลังลาย​ ​
เป็น​แมลงวันที่พบกระจาย​อยู่​ทั่ว​ไป​ใน​ประ​เทศไทย​ ​แต่มี​ความ​หนา​แน่นต่ำ​ ​มีขนาดกลางจน​ถึง​ขนาด​ใหญ่​กว่า​แมลงวันบ้าน​และ​แมลงวันหัวเขียว​ ​ลำ​ตัวมีสี​เทา​เข้ม​หรือ​สี​เทาอ่อน​ ​สา​เหตุที่​เรียกแมลงวันหลังลาย​ ​เนื่อง​จาก​ปล้องด้านบนมีลายคล้ายตารางหมากรุก​ มีรายงานการศึกษา​จาก​ห้องเลี้ยงแมลง​ด้วย​อาหารผสม​และ​เนื้อวัวสดแช่น้ำ​ทีอุณหภุมิ​ 27 - / + 4 ​องศา​ ​พบว่า​ใน​ 1 ​วัน​ ​แมลงวันหลายชนิด​จะ​วางไข่​ 1 ​ครั้ง​ ​หรือ​ไม่​วางไข่​เลย​ ​จำ​นวนไข่​ใน​แต่ละครั้ง​ 3 - 36 ​ฟอง​ ​และ​บางครั้งออกลูก​เป็น​ตัว​ ​จำ​นวน​ 3 - 11 ​ตัวต่อครั้ง​ ​อุณหภูมิ​จะ​มีผลต่อน้ำ​หนักของแมลงวัน​ ​พบว่า​ถ้า​อุณหภูมิสูง​หรือ​ต่ำ​เกินไป​ ​จะ​ทำ​ให้​น้ำ​หนักของดักแด้​ ​และ​ตัวเต็มวัยน้อยลง​ ​และ​ที่อุณหภูมิสูง​หรือ​ต่ำ​เกินไป​จะ​ทำ​ให้​แมลงวันชนิดนี้ตายมากขึ้น​ ​ส่วน​อุณหภูมิที่​เหมาะสม​ใน​การเติบโตคือ​ 22 - 28 ​องศา​
พฤติกรรมการกินอาหาร​: ​แมลงวันหลังลายแต่ละชนิด​จะ​กินอาหารแตกต่าง​กัน​ไป​ ​บางชนิดชองกินตามมูลสัตว์​ ​และ​ซากสัตว์​เน่า​เปื่อย​ ​หรือ​ระยะที่มีอาหารเน่า​เปื่อย​ ​บางชนิดขอบกินเนื้อสัตว์​ ​บางชนิดชอบอาหารที่มีรสหวาน​ ​และ​บางชนิดชอบอาหารทะ​เล​หรือ​ผลไม้ตากแห้ง​

หลักการควบคุมป้อง​กัน​และ​กำ​จัดแมลงวัน​
1. ​ควบคุม​โดย​วิธีการสุขวิทยา​และ​สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม​
1.1 ​ลดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน​ ​โดย​ ​กำ​จัดขยะมูลฝอย​ ​ฝังกลบ​หรือ​เผา​ ​อย่างน้อยสัปดาห์ละ​ 2 ​ครั้ง​ ​และ​ควรปิดฝาขยะมิดชิดทุกครั้ง​
1.2 ​อบรม​ผู้​ประกอบการอาหาร​ใน​บริ​เวณร้านขายอาหาร​ ​ถึง​การจัดการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม​ ​เพื่อลดปริมาณแมลงวัน​ใน​บริ​เวณดังกล่าว​

2. ​ควบคุม​โดย​ใช้​สารเคมี​
2.1 ​ใช้​สารเคมีควบคุมหนอนแมลงวัน​ใน​แหล่งเพาะพันธุ์​ ​โดย​การฉีดน้ำ​ยา​เคมี​ใน​บริ​เวณที่คาดว่า​จะ​เป็น​แหล่งเพาะพันธุ์​ ​เช่น​ ​บริ​เวณกองขยะ​ ​โดย​การฉีดพ่นทุกเดือน​
2.2 ​พ่นสารเคมีตามแหล่งเกาะพัก​
2.3 ​การ​ใช้​เหยื่อพิษ​ ​โดย​การโรยเหยื่อพิษตามแหล่งระบาด​ ​หรือ​มี​แมลงวันชุกชุม​
2.4 ​การพ่นสารเคมี​แบบฟุ้งกระจาย​ ​โดย​การ​ใช้​เครื่องหมอกควัน​

3. ​ควบคุม​โดย​วิธีกล​
3.1 ​​ใช้​มุ้งลวด​หรือ​ม่านพลาสติก​เหลือง ​เพื่อป้อง​กัน​และ​ลด​ความ​หนา​แน่นของแมลง​ ​เพื่อ​ให้​เข้า​มา​ใน​พื้นที่น้อยที่สุด​
3.2 ​​ใช้​ไม้ตี​แมลงวัน​
3.3 ​การ​ใช้​เครื่องไฟดักแมลง